วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปีใหม่

สวัสดีปีใหม่ Happy News year
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลาโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

สวัสดีปีใหม่ วันปีใหม่ ปีใหม่ วันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันปีใหม่ เทศกาลวันปีใหม่
เทศกาลวันปีใหม่ เป็นเทศกาลแห่งความสุข การให้ของขวัญ ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ Happy News year
 
  ประวัติวันปีใหม่ เทศกาลวันปีใหม่
   ประวัติวันปีใหม่ เทศกาลวันปีใหม่ ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน

ประวัติวันปีใหม่ การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
ประวัติวันปีใหม่ เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก Happy News year
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

เทศกาลวันปีใหม่ กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
 
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
         ปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เทศกาลวันปีใหม่ จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขวัญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
.........................................................................................................
ปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม ทุกคนทั่วทุกมุมโลกต่างรู้กันดีว่า เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่จะมีกี่คนที่จะรู้ว่า "กว่าจะกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกันทั่วโลกนั้นมีประวัติศาสาตร์อันยาวนาน" ทั้งนี้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า
" ปี" ไว้ว่า "เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว ๓๖๕ วัน  หรือ เวลา ๑๒ เดือนตามสุริยคติ"
ปฏิทิน ปีใหม่
 นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือสุริยปฏิทินพันปี บอกว่า แทบไม่น่าเชื่อว่าบรรพชนในอดีต ที่วันๆสาละวนอยู่กับการหาอยู่หากินตามธรรมชาติ อาวุธประจำกายที่วิเศษสุดก็คือขวานหินอันเดียว สามารถสร้างปฏิทินจากดวงดาวอันไกลโพ้น ตามหลักฐานทางโบราณคดีท่านเหล่านั้นรู้จักปฏิทินก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร พวกเขาใช้ข้อมูลดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือในการกำหนดช่วงเวลา โดยอ้างอิงกับสิ่งที่เห็นบนท้องฟ้าได้แก่ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และแม้กระทั่งดาวฤกษ์ ใช้ก้อนหินขนาดใหญ่เรียงตัวกันเป็นสัญลักษณ์ เช่น กองหินลึกลับ สโตนจ์เฮ้นจ์ (Stonehenge) ที่ประเทศอังกฤษ
 เมื่อมนุษย์เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ชาวสุเมเรี่ยนในดินแดนแห่งลุ่มน้ำ ไตรกีสและยูเฟรตีส ที่รู้จักกันดีในชื่อว่า เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ปัจจุบันอยู่ในประเทศอีรัก ได้สร้างปฏิทินขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลกที่เมือง นิปปู (Nippur) เมื่อ ๓,๗๖๐ ปี ก่อนคริสตกาล พวกเขาแบ่งช่วงเวลา ๑ ปี ออกเป็น ๑๒ เดือน และให้เริ่มปีใหม่ในวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันเท่ากับกลางคืนและเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ
  ครั้นอารยธรรมอียิปต์ฉายแสงขึ้นมาก็สร้างปฏิทินโดยถ่ายทอดข้อมูลไปจากชาวสุเมเรี่ยน ถึงคิวของอาณาจักรโรมันผงาดขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์ ๗๕๓ ปี ก่อนคริสตกาล ก็สร้างปฏิทินโดยนับเริ่มต้นจากปีที่สร้างกรุงโรม ภาษาลาตินใช้คำว่า ab urbe condita (A.U.C.) ปฏิทินโรมันเป็นจันทรคติคือใช้ดวงจันทร์เป็นตัวอ้างอิง ให้ปีหนึ่งมี ๑๐ เดือน หรือ ๓๐๔ วัน และให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นปีใหม่
 เดือนมกราคม มาจากชื่อของเทพ เจนัส ซึ่งชาวโรมันเชื่อว่าเป็นเทพแห่งการเริ่มต้นใหม่ของโลก เพราะในฤดูหนาว ดวงอาทิตย์ต่ำลงเรื่อยๆทางทิศใต้ ขณะเดียวกันช่วงเวลากลางวันก็สั้นลงจนกลัวว่าโลกจะดับมืดในไม่ช้า แต่พอเวลาผ่านไปไม่กี่วันดวงอาทิตย์ก็หวนกลับคืนมาทางทิศเหนืออีกครั้ง ด้วยการช่วยเหลือจากเทพเจนัส ดังนั้นเดือนที่ดวงอาทิตย์เริ่มกลับคืนมาใหม่จึงเรียกว่า เดือนแห่งเทพเจนัส หรือ January
 ปฏิทินโรมันมีการปรับเพิ่มเป็น ๓๕๕ วัน และมีเดือนบวกพิเศษอีก ๑ เดือน ทุกๆปีเว้นปี อย่างไรก็ตามก็ยังคลาดเคลื่อนจากรอบปีตามสุริยะคติ ประมาณ ๕ วัน ในรอบทุกๆ ๔ ปี เมื่อสะสมนานนับร้อยปีก็เป็นเหตุให้วันสำคัญไม่ตรงกับฤดูกาลที่กำหนด
 ชาวโรมันเริ่มหงุดหงิดกับปฏิทินของพวกเขาแต่ยังไม่มีใครอาจหาญลุกขึ้นมาแก้ไข จวบจนถึงสมัยของจอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ จูเลียส ซีซ่า (Julius Caesar) เมื่อ ๔๘ ปี ก่อนคริสตกาล ท่านซีซ่าร์จึงที่ปรึกษาชาวอียิปต์ชื่อ โซซิเจเนส  แห่งเมืองอเลกซานเดรีย  มารับมอบหน้าที่ปรับแก้ปฏิทินโรมันเสียใหม่ให้สอดคล้องกับฤดูกาล
 ในที่สุด โซซิเจเนส ส่งการบ้านอันยอดเยี่ยมให้ท่านซีซ่าร์ ในอีก ๒ ปี ต่อมา ( ๔๖ ปี ก่อนคริสตกาล) เป็นปฏิทินสุริยะคติ ปีหนึ่งมี ๓๖๕ วัน และบวกพิเศษ อีก ๑ วัน ทุกๆ ๔ ปี เพราะคำนวณจากฐานว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เท่ากับ ๓๖๕.๒๕ วัน ในคราวเดียวกันนี้ท่านซีซ่าอยากจะเปลี่ยนวันปีใหม่จากเดิมคือวันที่ ๑ มกราคม ไปเป็นวัน “วสันตวิษุวัต” (Vernal Equinox) ตามที่โซซิเจเนสแนะนำ แต่พวกวุฒิสมาชิกไม่ยอมเพราะปฏิทินโรมันถือว่า วันที่ ๑ มกราคม มีความหมายของเทพเจนัสอยู่แล้ว จึงยื่นไม้ตายจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจและปลดท่านซีซ่าร์ออกจากตำแหน่ง
 แค่กรณีไปมีบ้านเล็กและเอาที่ปรึกษาอียิปส์มาทำปฏิทินก็แทบจะเหลือทนแล้ว นี่ได้คืบจะเอาศอกรับกันไม่ได้ ท่านซีซ่าร์จึงตัดสินใจใช้นโยบายแบบ Win-Win คือบ้านเล็กไม่เสียหน้า เก้าอี้จอมทัพก็ยังอยู่ วุฒิสภาก็รับได้ จึงให้ใช้ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่เหมือนเดิม
  ส่วนรายละเอียดอื่นๆเอาตามแบบอียิปส์ ปฏิทินฉบับนี้มีชื่อว่า “ปฏิทินจูเลี่ยน” ตามชื่อของท่าน “จูเลียส ซีซ่าร์” และมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศยุโรปมาจวบจนถึง ปี ค.ศ.1582 ก็ต้องสังคายนาอีกครั้งหนึ่งโดยสันตะปาปาเกรกอรี่ ที่ 13 เพราะปฏิทินจูเลี่ยนสะสมความคลาดเคลื่อนแบบติดลบไว้ถึง 10 วัน ทำให้วันสำคัญทางศาสนาคาทอลิกคือ “วันอีสเตอร์” ซึ่งถือเป็นวันที่พระเยซูฟื้นคืนชีพหลังจากสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ผิดไปจากหลักดาราศาสตร์
 เนื่องจากวันอีสเตอร์ถูกกำหนดโดยสภาศาสนาแห่งเมืองนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 325 ให้ตรงกับวันอาทิตย์ถัดจากวันเพ็ญที่เกิดขึ้นหลังวันวสันตวิษุวัต และกำหนดให้ วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันวสันตวิษุวัต แต่ปฏิทินซีซ่าร์สะสมความคลาดเคลื่อนไว้มากจนเป็นเหตุให้วันที่ 21 มีนาคม แซงหน้าวันวสันตวิษุวัต ไป 10 วันเต็มๆ
 ปฏิทินใหม่ที่ประกาศใช้โดย สันตะปาปาเกรกอรี่ ที่ 13 กำหนดให้วันรุ่งขึ้นของพฤหัสบดี ที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 กลายเป็นวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 1582 โดยยังยึด 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่เช่นเดิม และมีข้อกำหนดให้เดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัวมี 29 วัน เรียกว่า “อธิกสุรทิน” (Leap year) แต่ปีสุดท้ายของศตวรรษที่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว เช่น 1900 และ 2100 คงให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วันเช่นเดิม
 "ปฏิทินเกรเกอเรี่ยน (Gregorian Calendar) กลายเป็นปฏิทินสากลของทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และทุกประเทศก็ถือว่า ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่ของมนุษยชาติ ต้องขอบคุณที่ท่านจอมทัพจูเลียส ซีซ่าร์ ยอมอ่อนข้อให้กับวุฒิสภาโรมันแบบ Win-Win ไม่งั้นเราคงไม่ได้ฉลองปีใหม่พร้อมๆกันทั่วโลก"นายสรรค์สนธิกล่าว
  เทศกาลวันปีใหม่ บุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่  ประวัติศาสตร์แห่งปีใหม่ไทย
 ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
 การกำหนดวันปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
 การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
บุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
 เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก และ4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
ประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่
 กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ คําอวยพรวันปีใหม่และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้นกว่า ปีก่อนๆที่ผ่านมา สวัสดีปีใหม่ Happy News year และหลังเทศกาลปีใหม่ผ่านไปไม่นานก็จะถึงเทศกาลของคนไทยเชื้อสายจีนคือวันตรุษจีน
เทศกาล วันสำคัญ บทความดีๆ คำอวยพรวันปีใหม่ (New Year Greetings)

วันครีส

วันคริสต์มาส 25 ธันวาคม


คริสต์มาส คืออะไร

วันคริสต์มาส คือ การฉลองวันประสูติของพระเยซูผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซูมิใช่เป็ แต่เพียงมนุษย์ธรรดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็น พระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์ พิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วย


ประวัติการประสูติพระเยซูเจ้า
ในเวลานั้น จักรพรรดิออกัสตัส รับสั่งให้ราษฎรทุกคน ในอาณาจักรโรมัน ไปลงทะเบียนสำมะโน ประชากร โยเซฟและมารีย์ ซึ่งมีครรภ์แก่จึงต้องเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮม อันเป็นเมืองที่กษัตริย์ดาวิดประสูติ พอดีถึงกำหนดที่มารีย์จะคลอดบุตร เธอก็ได้คลอดบุตรชายหัวปี เธอเอาผ้าพันกายพระกุมารแล้ววางไว้ใน รางหญ้า เนื่องจากตามโรงแรมไม่มีที่พักเลย คืนนั้นทูตสวรรค์ของพระเจ้า ปรากฎแก่พวกเลี้ยงแกะ พวกเขาตกใจกลัวมาก แต่ทูตสวรรค์ปลอบพวกเขาว่า "อย่ากลัวไปเลย เพราะเรานำข่าวดีมาบอก คืนนี้เอง ในเมืองของกษัตริย์ ดาวิด มีพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ พระองค์นั้นเป็นพระคริสต์พระเป็นเจ้า นี่จะเป็น หลักฐานให้พวกท่านแน่ใจคือ พวกท่านจะพบพระกุมารมีผ้าพันกาย นอนอยู่ในรางหญ้า"
ทันใดนั้น มีทูตสวรรค์อีกมากมาย ร้องเพลง สรรเสริญ พระเจ้าว่า " Gloria in Excelsis Deo ขอเทิด พระเกียรติพระเจ้าผู้สถิตย์ในสวรรค์ชั้นสูงสุด สันติสุขบนพิภพจงเป็นของผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย


ทำไมจึงฉลองคริสต์มาสวันที่ 25 ธันวาคม
ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ (ลก.2:1-3) บันทึกไว้ว่าพระเยซูเจ้าบังเกิด ในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีรินิอัสเป็นเจ้าครองเมืองซีเรีย ซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่า เป็นวัน หรือเดือนอะไร แต่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลว่า ทื่คริสตชน เลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองคริสต์มาส ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจาก ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิเอาเรเลียน ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลอง วันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า และถือเสมือนว่าเป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะพระจักรพรรดิก็เปรียบเสมือน ดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์
คริสตชนที่อยู่ในจักรวรรดิ โรมันรู้สึกอึดอัดใจที่จะฉลอง วันเกิดของสุริยเทพตามประเพณีของ ชาวโรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 330 จึงเริ่มมีการฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ และอย่างเปิดเผย เนื่องจากก่อนนั้น มีการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรง (ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 64-313) ทำให้คริสตชนไม่มีโอกาสฉลองอะไรอย่างเปิดเผย


ความสำคัญของวันคริสต์มาส
คริสต์มาส เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ มิใช่เป็นวันสำคัญฝ่ายร่างกายจัดงาน รื่นเริงภายนอกเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงเปลือกนอกของการฉลองคริสต์มาส แต่แก่นแท้อยู่ที่ความรัก ของพระเจ้าที่ มีต่อโลกมนุษย์ นั่นคือ พระเจ้าทรงรักมนุษย์ มากจน ถึงกับยอมส่งพระบุตรแต่องค์เดียว ของพระองค์ ให้มาเกิดเป็น มนุษย์ มีเนื้อหนังมังสา ชื่อว่า "เยซู"
การที่พระเจ้าได้ถ่อมองค์และเกียรติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากการเป็นทาส ของความชั่ว และบาปต่างๆ นั่นเอง
ดังนั้นความสำคัญของวันคริสต์มาสจึงอยู่ที่การฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อโลกมนุษย์ อย่างเป็นจริง เป็นจัง และเห็นตัวตนในพระเยซูคริสต์ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น


ประวัติวันคริสต์มาส
คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เรา เฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ โบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซาเป็นประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส
คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรก ในเอกสารโบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุข และความสงบทางใจ

เพราะฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบ ทางใจ
เนื่องใน โอกาสเทศกาลคริสต์มาส ส่วนภาษาไทยใช้อวยพรด้วยประโยคว่า "สุขสันต์วันคริสต์มาส
Merry Christmas "


การร้องเพลงคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาสที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีเสียงมากได้แก่ Silent Night, Holy Night เป็นภาษาไทยว่า "ราตรีสวัสดิ์ คืนอันศักดิสิทธ์ "

ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวัน คริสต์มาส ของปี ค.ศ. 1818 คุณพ่อ Joseph Mohr เจ้าอากาสวัดที่ Oberndorf ประเทศออสเตรเลีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจจะแต่งเพลงคริสต์มาส หลังจากแต่งเสร็จก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ Franz Gruber ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนองในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดใกล้ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก


เทียนและพวงมาลัย
ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้นในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุกอาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา
ซึ่งต่อมามีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรงกลาง 1 เล่มไปแขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่านไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็นสัญลักษณ์ที่คน สมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบ บริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า


การทำมิสซาเที่ยงคืน
เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) แล้วในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม ยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ
พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืน พระสัน ตะปาปาก็ทรงถวายบูชา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พัก เป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และสัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อ สัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติ ของพระองค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมี ธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสเช่นเดียวกัน


ซานตาครอส
ตัวจริงของซานตาครอส คือ นักบุญนิโคลัสซึ่งเป็นบาทหลวงในตุรกี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่สี่ ผู้ขึ้นชื่อในเรื่องความใจดี โดยเฉพาะกับเด็กๆ ต่อมาท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วฮอลแลนด์ในชื่อ "ซินเตอร์คลาส" ราวค.ศ.1870 ชาวอเมริกันเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น"ซานตาคลอส" ตั้งแต่แรกจนถึงค.ศ. 1890

ภาพของซานตาคลอสเป็นชายร่างผอมสูงสวมชุดสีเขียว หรือน้ำตาลสลับแดง เจนนี ไนสตรอม ศิลปินชาวสวีเดน เป็นผู้คิดค้นรูปลักษณ์ของซานตาครอสอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยวาดภาพลงในบัตรอวยพรคริสต์มาส ภาพเหล่านี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เมื่อชาวสวีเดนอีกคนชื่อ แฮดดอน ซันด์บลอม นำภาพวาดของไนสตรอมสวมชุดขาว

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ

  

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  
           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

           หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

           อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

           รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
 

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           พระมหากษัตริย์
           สภาผู้แทนราษฎร
           คณะกรรมการราษฎร
           ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้ 

          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

วันพ่อแห่งชาติ


เดือน "ธันวาคม" ของทุกปีถือเป็นเดือนมหามงคล

เดือน "ธันวาคม"
ของทุกปีถือเป็นเดือนมหามงคล
ใครจะคิดอย่างไร ก็แล้วแต่ความดิดของใครของมัน แต่สำหรับผมแล้วเดือน "ธันวาคม" ของทุกปีถือเป็นเดือนมหามงคลสำหรับชีวิต เพราะเดือนนี้เป็นเดือน"พระราชสมภพ"พระมหากษัตริย์ของปวงชนชาวไทย และถ้าไม่มีธุระจำเป็นจริงๆจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯร่วมฉลองเกือบทุกปี มองแสงพลุด้วยความปิติในใจ(ปลื้มกว่าทำที่เทศบาลประจำถิ่น)


"ข้าราชการได้ประกาศรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็เดือนนี้
นักโทษเด็ดขาดได้รับการลดหย่อนและอภัยโทษก็เดือนนี้ฯลฯ"

คนไทยแท้ๆจึงมิบังควรอย่างยิ่งที่จะทำอะไรเป็นการระคายเคืองพระราชหฤทัย
ไม่ต้องประกาศปาวๆหรอกครับว่า จงรักภักดี..ทำเถอะ ทำให้เห็น แล้วสังคมจะเชื่อเอง.
ขอให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญในเดือนพระราชสมภพของพระองค์เดือนนี้ทั้งเดือนไม่ได้เชียวหรือ?

วันพ่อแห่งชาติ

5 ธันวาคม ของทุกปี

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523
 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ

โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและ สังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลาน เธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
“อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อ
ฃอควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า

“ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระคือบิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิเรก
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน”



ซึงนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป

ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ดอกพุทธรักษาดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์


วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ

1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาติ

1. ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์หรือทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลและระลึกถึงพระคุณพ่อ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมยกย่องผู้ที่ สมควร ได้รับการยกย่องว่าเป็นพ่อ ตัวอย่าง

สำหรับคุณสมบัติของพ่อตัวอย่าง คณะกรรมการได้กำหนดไว้ดังนี้

1. มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
2. ส่งเสริมการศึกษาแกบุตรและธิดา
3. นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด
4. งดเว้นอบายมุขทุกชนิด
5. อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน
6. มีภรรยาเพียงคนเดียว

หน้าที่ของบิดา มารดาพึงมีต่อบุตร

• ห้ามมิให้ทำความชั่ว - ป้องกัน, ห้ามปราม มิให้ประพฤติเสียหาย
• ให้ตั้งอยู่ในความดี - ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง
• ให้ศึกษาศิลปวิทยา - ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งคดีโลก และคดีธรรม
• หาคู่ครองที่สมควรให้ - เลือกคู่ครองที่คู่ควร, เหมาะสมให้ในเวลาอันเหมาะสม
• มอบทรัพย์สมบัติให้ดูแลเมื่อถึงเวลาอันสมควร - มอบภาระหน้าที่การงานให้บริหาร และมอบมรดกให้ครอบครอง

หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา
• เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน - เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
• ช่วยทำกิจการงานของท่าน - ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
• ดำรงวงศ์ตระกูล - ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
• ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก - ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
• ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ - ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พังทลาย
วันที่ 5 ธันวาคม นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น “วันชาติของไทย” อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันลอยกระทง

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันลอยกระทง

ลอยกระทง

ลอยกระทง


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม 


          ใกล้ถึงเทศกาลวันลอยกระทงแล้ว … เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมตัวควงหวานใจ หรือพาครอบครัวไปลอยกระทงร่วมกันที่ใดที่หนึ่งแล้ว อ๊ะ ๆ ... แต่ก่อนที่จะไปลอยกระทงกันนั้น เรามาทำความรู้จักประเพณีลอยกระทงให้ถ่องแท้กันก่อนดีกว่าค่ะ จะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของประเพณีอย่างแท้จริง
กำหนดวันลอยกระทง

          วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

ลอยกระทง

          ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."

          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ลอยกระทง

          ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง
          สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

          1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

          2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

          3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

          4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 

          5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

          7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย