วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเทศกาลตรุษจีน




Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก


   
"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ"
 
 
ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย
ความรู้เกี่ยวกับ "วันตรุษจีน"
      นับเป็นประเพณีนิยม ในวันตรุษจีน ที่เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนชาติจีนแผ่นดินใหญ่และพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน    นั่นแสดงว่าเป็นสัญญาณอันดีที่จะมีงานรื่นเริง การสวมใสเสื้อสีแดงสด อันเป็นสีที่เป็นศิริมงคลของพี่น้องชาวจีน อาจจะบอกดว่าเป็นวันครอบครัว ที่จะได้พบปะสังสรรค์ กินเลี้ยงอย่างมีความสุข ...อันเป็นวันที่เปี่ยมไปด้วยการให้ทาน การทำบุญทำกุศล  หรือแม้กระทั่งที่วัดจีนประชาสโมสร  ก็มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ทำทานในวันขึ้นปีใหม่  นำมาซึ่งความปิติ-มีความสุขเปี่ยมล้น  มีผลทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ทำงาน-ค้าขายให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป...
เทศกาลจีนมีอยู่มากมาย ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน ในปีนี้ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่างหยุดงาน โรงเรียนสถาบันการศึกษาต่างปิดเทอมในช่วงนี้ เป็นปิดเรียนฤดูหนาว ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่ไม่สามารถหยุดงานได้ หน่วยงานห้างร้านต่างก็หยุดงาน 3-4 วัน เมื่อใกล้วันปีใหม่จีน ผู้คนต่างก็มีการตระเตรียมงานปีใหม่ ภายในครอบครัว ทุกบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน ผ่านปีใหม่อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพร ในตลาดก็คราคร่ำไปด้วยผู้คน ต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง ซื้อเป็ดไก่บ้าง ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข ช่วงเทศกาลปีใหม่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก ต่างสวมเสื้อใหม่ ทานลูกกวาดขนมหวาน เล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง
          คืนก่อนวันปีใหม่ คือวันสุดท้ายของปีนั่นเองเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่
ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน
          ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง
          ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
          วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
          เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า
"Let bygones be bygones"
(อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน
อาหารไหว้เจ้า
          ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมันเม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชายเกาลัด - มีความหมายถึง เงิน สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวยเต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุขหน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์          อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน
 
ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน
ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน
การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล
บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก
ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษเพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ ของตน
15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน วันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด
วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน
วันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่าย
วันที่หก ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุข
วันที่เจ็ด ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จ
วันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์
วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้
วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันของเพื่อนและญาติๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
วันที่สิบสี่ ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน
                         

วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ของจีน (วันที่ 1 เดือน 1 ของวันจีน) ถือเป็นเทศกาลใหญ่ ที่ประหนึ่งรวมเทศกาลวันตรุษ และอาจรวมเทศกาลไหว้สิ้นปี เข้ากับเทศกาลวันตรุษ ซึ่งจะต่างกับวันไทย และวันสากล ในขณะที่วันของไทย เป็นวันข้างขึ้น และข้างแรม เดือนหนึ่งมี 30 วัน ของจีนจะเป็นเดือนสั้น และเดือนยาว เดือนสั้นมี 29 วัน เดือนยาวมี 30 วัน

วันจีนจะช้ากว่าวันข้างขึ้น ข้างแรม ในปฏิทินอยู่ 2 เดือน ยกตัวอย่าง วันไหว้พระจันทร์ ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 เมื่อดูในปฎิทินจะเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 หรือสมมติว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2535 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 2 ก็คิดกลับเป็นวันจีนจะเป็นวันที่ 8 เดือน 12 จากนั้นนับต่อจากวันที่ 8 ไปเป็นวันที่ 9 เดือน 12 ของจีน คือ วันที่ 1 มกราคม 2536 นับไปเรื่อยๆ จนครบวันที่ 30 เดือน 12 ของจีน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2536 ของไทย ดังนั้นวันตรุษจีน คือ วันที่ 1 เดือน 1 ของจีน ก็จะตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2536

  • วันตรุษจีน 2544 ตรงกับวันที่ 24 มกราคม 2544
  • วันตรุษจีน 2545 ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545
  • วันตรุษจีน 2546 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546
  • วันตรุษจีน 2547 ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2547
  • วันสิ้นปีจะมีการไหว้ หลายอย่าง นิยมเรียกว่า "วันไหว้"

  • มักเรียกวันก่อนหน้าวันไหว้ว่า "วันจ่าย" เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะจับจ่ายซื้อของไหว้ของใช้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าจะปิดธุรกิจหลายวัน

  • การไหว้ตรุษจีนจะนิยมเรียกกันว่า "วันชิวอิด" แปลว่า วันที่ 1 มีความน่าสนใจตรงที่ว่า คนจีนจะไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ"ในเวลากลางดึกเมื่อเวลาย่างเข้าวันตรุษหรือวันชิงอิดไช้ แปลว่า โชคซิ้ง และเอี๊ย แปลว่า เจ้านอกจากนี้เวลาไหว้ยังมีฤกษ์ยาม และทิศที่จะตั้งโต๊ะไหว้ ยังเป็นทิศ และเวลาเฉพาะในแต่ละปี เพื่อความเป็นสิริมงคล ของไหว้จะไหว้ง่ายๆ ด้วยส้ม และโหงวเส็กทึ้งกับนำชาส้ม คนจีนเรียกว่า กา หรือ "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี เพื่ออวยพรให้ลูกหลานโชคดี และใช้ให้เป็นของขวัญ...นำโชคมามอบให้แก่กันโหงวเส็กทึ้ง แปลว่า ขนม 5 สี ได้แก่ ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง ถั่วเคลือบน้ำตาล และฟักเชื่อม บางทีก็เรียกว่า "ขนมจันอับ" หรือ "แต่เหลียง"บางบ้านมีการไหว้อาหารเจแห้ง ให้แก่บรรพบุรุษด้วยบางบ้านนิยมเปิดไฟไว้ที่ศาลเจ้าที่ "ตี่จู่เอี๊ย" เพื่อรอรับวันที่เจ้าที่จะเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ในวันที่ 4 เดือน 1 ของจีน

  • ในวันตรุษจีน หรือวันชิวอิด ในหมู่คนจีนจะทราบกันว่า นี่คือ "วันถือ" ถือที่จะทำในสิ่งที่ดี และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่สวยงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดแต่ "หออ่วย" แปลว่า คำดีๆ ไม่อารมณ์เสียหงุดหงิด ไม่ทำงานหนัก เพื่อที่ว่าตลอดปีจะได้ไม่ต้องทำงานหนักนัก ไม่กวาดบ้าน เพราะอาจปัดสิ่งดีๆ มีมงคลออกไป แล้วกวาดความไม่ดีเข้ามา เริ่มต้นเช้าวันตรุษ คนในบ้านก็จะทักทายกันด้วยคำอวยพร "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้" หมายถึง เวลาใหม่ให้สมใจ ปีใหม่ให้สมปรารถนา

  • อั้งเปา" ในวันตรุษจีน มีคำจีนโบราณเรียกว่า "เอี๊ยบซ้วยจี๊" เป็นเงินสิริมงคลที่ผู้ใหญ่ให้แก่ลูกหลาน เพื่ออวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง และเจริญก้าวหน้า

  • ธรรมเนียมหนึ่งในวันตรุษจีนคือการไป "ไป๊เจีย" หรือการไปไหว้ขอพร และอวยพรผู้ใหญ่ หรือญาติมิตร โดยส้มสีทอง 4 ผลห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าผู้ชาย ที่นิยมใช้กันแต่ส้มสีทอง ไม่ใช้ส้มเขียว เพราะสีทองเป็นสีมงคล ทองอร่ามเรืองจะอวยพรให้รุ่งเรืองเช่นเดียวกับส้ม ที่คนจีนเรียกว่า ไต้กิก แปลว่า โชคดี ส้มสีทองที่มอบแก่กันคือ นัยอวยพรให้ "นี้นี้ไต้กิก" แปลว่า ทุกๆ ปีให้โชคดีตลอดไปส้มสีทอง 4 ใบ เมื่อเจ้าบ้านรับไป จะเป็นการรับไปเปลี่ยนว่าเปลี่ยนส้ม 2 ใบของแขกกับ 2 ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้ม 4 ใบคืน ให้แขกนำกลับไป 2 ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้ม 4 ใบ คืนให้แขกนำกลับไป หมายถึง การที่ต่างฝ่าย ต่างให้โชคดีแก่กัน

  • การติดฮู้ เป็นธรรมเนียมที่นิยมถือทำในวันตรุษจีน เช่น การติด "ฮู้" หรือยันต์แผ่นใหม่ เพื่อคุ้มครองบ้าน ติด "ตุ้ยเลี้ยง" หรือแผ่นคำอวยพรที่ปากทางเข้าบ้าน

    ไหว้เจ้า
    การไหว้เจ้าเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุข ความเจริญแก่ครอบครัว


    ในปีหนึ่งมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง เรียกว่า โป๊ยโจ่ย แปลว่า 8 เทศกาล ดังนี้
  • ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 (เป็นการกำหนดวันทางจันทรคติของจีน) คือ ตรุษจีน เรียกว่า ง่วงตั้งโจ่ย
  • ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า ง่วงเซียวโจ่ย
  • ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า ไหว้เช็งเม้ง เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
  • ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า โหงวเหว่ยโจ่ย เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
  • ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีน เรียกว่า ตงง้วงโจ่ย
  • ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า ตงชิวโจ่ย ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
  • ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า ไหว้ตังโจ่ย
  • ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ ก๊วยนี้โจ่ย

    นอกจากนี้บางบ้านยังมีการไหว้พิเศษ คือการไหว้เทพยดาที่ตนเองเคารพนับถือ เช่น
  • ไหว้เทพยดาฟ้าดิน เช่นการไหว้วันเกิดเทพยดา ฟ้าดิน เรียกว่า ทีกงแซ หรือ ทีตี่แซ ตรงกับวันที่ 9 เดือน 1 ของจีน
  • ไหว้อาเนี๊ยแซ คือไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือวันที่ 19 เดือน 2 วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9
  • ไหว้แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3
  • ไหว้เทพยดาผืนดิน คือไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3
  • ไหว้อาพั๊ว คือการไหว้วันเกิดอาพั๊ว หรืออาพั๊วแซ ซึ่งอาพั๊ว หมายถึง พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี
  • ไหว้เจ้าเตา คือไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า ไหว้เจ๊าซิ้ง
    ขนมไหว้

    ซาลาเปา (หมี่ก้วย หรือ หมี่เปา)
  • ไม่มีไส้ เรียกว่า หมั่นโถว มีแบบที่ทำจาหัวมัน เนื้อออกสีเหลือง และแบบไม่ผสมมัน เนื้อออกสีขาว นิยมทำให้แตกเหมือนดอกไม้บาน ถ้าลูกเล็กจะแต้มจุดแดง ลูกใหญ่จะปั๊มตัวหนังสือสีแดง เขียนว่า ฮก แปลว่า โชคดี
  • มีไส้ นิยมไส้ เต้าซา แป้งไม่ผสมมัน หน้าไม่แตก มีตัวหนังสือปั๊มว่า เฮง แปลว่าโชคดี


    ซิ่วท้อ เป็นซาลาเปาพิเศษ ทำเป็นรูปลูกท้อ ใส้เต้าซา เพราะถือว่าเป็นผลไม้สวรรค์ ใช้ในงานวันเกิด ใครได้กินอายุจะยืนยาว


    หนึงกอ (ขนมไข่) ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง


    ก๊าก้วย (ฮวกก้วย) "ฮวก" แปลว่า งอกงาม / "ก้วย" แปลว่า ขนม ใช้กับงานมงคลเป็นส่วนใหญ่ เช่นงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ บนหน้าขนมปั๊มตัวหนังสือตรงกลาง "ฮวดไช้" คำที่อยู่รอบนอก คือ "เฮง" แปลว่า โชคดี


    คักท้อก้วย มีไส้ข้าว ไส้กุยช่าย ไส้ผัดผักกะหล่ำ ไส้ถั่ว นวดกับแป้งผสมสีแดง เป็นสีนำโชค ใช้ไหว้เจ้าที่ หรือไหว้บรรพบุรุษ


    จับกิ้ม (แต่เหลียง) หรือที่คนไทย เรียกว่า "ขนมจันอับ" ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกประเภท ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ
  • เต้ายิ้งปัง คือ ขนมถั่วตัด
  • มั่วปัง คือ ขนมงาตัด
  • ซกซา คือ ถั่วเคลือบน้ำตาล
  • กวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม
  • โหงวจ๊งปัง คือ ขนมข้าวพอง



    ตั่วเปี้ย คนไทยเรีกว่า "ขนมเปี๊ย"
  • แบบเจ เรียกว่า "เจเปี้ย" มีไส้มังสวิรัติ เช่น ไส้เต้าซา
  • แบบชอ เรียกว่า "ชอเปี้ย" ใส่มันหมู ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกอย่าง

    ทึ้งถะ คือ เจดีย์น้ำตาล ซึ่งต้องมีทึ้งไซ หรือสิงห์น้ำตาล มีไว้เพื่ออารักขาเจดีย์ ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน ในวันที่ 9 เดือน 1 ของทุกปีและสามรถใช้ไหว้เจ้าแม่กวนอิมในวันไหว้พระจันทร์ได้


    โหงวก้วย-โหงวอั้ง หรือขนมลูกหลาน ใช้ไหว้คนตายในงานศพเท่านั้น ทำจากแป้งข้าวเจ้า ทั้งแบบเกลี้ยง และแบบแต่งถั่วดำ กินไม่อร่อย แต่ใช้ในการทำพิธี


    น้ำตาล นำน้ำตาลมาใส่ถุง ติดกระดาษแดง สามารถใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง


    กระดาษเงินกระดาษทอง
    คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า "อิมกัง" ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษ


    กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัน" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดดีใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน


    กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานจ้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง


    กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน


    กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย


    ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะไก้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่นใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด


    อิมกังจัวยี่ คือแบงก์กงเต็กนั่นเอง


    อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทาง ไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย


    เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ


    ตั้วกิม
    เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตายการเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก


    เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี



    ผลไม้ไหว้เจ้า
    ส้ม คำจีนเรียกว่า "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี
    -------------------------------------------------------------------------
    องุ่น คำจีนเรียกว่า "พู่ท้อ" หมายถึง งอกงาม
    -------------------------------------------------------------------------
    สับประรด คำจีนเรียกว่า "อั้งไล้" แปลว่า มีโชคมาหา
    -------------------------------------------------------------------------
    กล้วย คำจีนเรียกว่า "เกงเจีย" มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล
            --------------------------------------------------------------------------------

  • วันกองทัพไทย


    วันกองทัพไทย 
    ภาพ:Nare_1.jpg

             วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึก ในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)

    สารบัญ

    [ซ่อนสารบัญ]

    [แก้ไข] ความเป็นมาของวันกองทัพไทย

    ภาพ:Nare_5.jpg

             ในปีพุทธศักราช 2502 กระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายน ซึ่งเป็นคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหม เป็นวันกองทัพไทย ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2522 สมัยที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เห็นว่าวันกองทัพไทยควรเป็นวันที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึงความกล้าหาญและเสียสละ จึงได้กำหนดเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี

             วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ซึ่งตรงกับวันเดือนปีของจันทรคติ คือวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ทั้งนี้ได้มีผู้คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2136
             คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2523 กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา
             พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งอดีตท่านเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขและคณะกรรมการที่ปรึกษาอีกหลายหน่วยงาน ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส ได้พบความคลาดเคลื่อนของวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี และวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษก จึงได้มีหนังสือพร้อมข้อมูลของวันกองทัพไทย เสนอไปสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไข วันสำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชาติไทยที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย 2 เรื่องคือ
             1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือ “วันกองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ คือวันที่ 25 มกราคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ 18 มกราคม
             2. วันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตราธิราชของไทย ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้คือ วันที่ 28 ธันวาคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ 27 ธันวาคม
             - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องมอบให้คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี หม่อมเจ้าสุภัทรดิศดิศกุล เป็นประธานกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยมีผลการพิจารณาดังนี้
              “….คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า
             1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ได้เคยมีการคำนวณไว้ เมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ว่าตรงกับวันที่ 18 มกราคม และ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้คำนวณ และเขียนบทความไว้ว่าตรงกับวันที่ 18 มกราคม เช่นกัน
             2. สาเหตุที่ได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง กระทำยุทธหัตถีฯนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณนคร รองประธานกรรมการ ให้ข้อสันนิษฐานว่า ผู้คำนวณสำคัญผิดว่า วันเถลิงศกตรงกับวันที่ 15 หรือ16เมษายนมาตลอด แต่แท้จริงวันเถลิงศก เพิ่งมาตรงกับวันที่ 15 เมษายน เมื่อ พ.ศ.2443 และเริ่มตรงกับวันที่ 15 เมษายนบ้าง วันที่ 16 เมษายนบ้าง มาตั้งแต่ พ.ศ.2474 ซึ่งในปีที่กระทำยุทธหัตถี วันเถลิงศก ตรงกับวันศุกร์ที่ 9 เมษายน แต่ผู้คำนวณคิดว่า วันเถลิงศกปีนั้น ตรงกับวันศุกร์ที่ 16 เมษายน จึงคำนวณวันผิดไป 7 วัน
             3. การที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า เป็นวันที่ 25 มกราคม มาเป็นวันที่ 18 มกราคม นั้น เป็นเรื่องของส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องพิจารณาเอง เพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้ทราบว่า วันที่ถูกต้องตามการคำนวณ คือวันที่ 18 มกราคม ก็คงจะเพียงพอแล้ว….”


    ภาพ:Nare_3.jpg

             - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ทราบดังนี้

              “….ตามที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขวันสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง คือ
             1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบัน กำหนดให้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ 18 มกราคม….. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มอบให้ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว และกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาให้แจ้งผลการพิจารณา ของคณะกรรมการฯ ให้ท่านทราบ….”
             - หนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่อ้างถึงนี้ได้แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบด้วย แต่ไม่ทราบผลการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม
             - เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2540 พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ได้มีหนังสือเสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอให้เปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย โดยท่านให้ข้อคิดเห็นว่า ท่านได้ศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยใช้หลักวิชาโหราศาสตร์ดวงดาว ทั้งฮินดู และตะวันตกมาคำนวณ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของวันดังกล่าวว่าถูกต้องหรือไม่?
             - จากเอกสารที่เสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด กรมยุทธศึกษาทหาร ได้นำเสนอในที่ประชุมกรมเสนาธิการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด มีรายละเอียดดังนี้
             ตามที่ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ นายตำรวจนอกราชการ ได้มีหนังสือนำเรียน ผบ.ทหารสูงสุด เสนอให้พิจารณาเปลี่ยนวันกองทัพไทย จาก 25 ม.ค. เป็น 18 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา ยศ.ทหาร มีข้อพิจารณาดังนี้
             1. การประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 12/22 เมื่อ 22 ธ.ค.22 ได้มีมติ กำหนดให้วันที่ 25 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย ซึ่ง ครม.ได้ลงมติเห็นชอบและอนุมัติ และเมื่อ 28 มิ.ย.27 ที่ประชุมสภากลาโหม ได้มีมติยืนยันว่าวันที่ 25 ม.ค. ถือเป็นวันกองทัพไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทางราชการแล้ว และหากมีการเปลี่ยนแปลง วันที่กระทำยุทธหัตถี รัฐบาลต้องประกาศเปลี่ยนแปลง
             2. สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยืนยัน และแจ้งให้ กห.ทราบ เมื่อ 21 ส.ค.41 ว่าวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ที่ถูกต้องคือ วันที่ 18 ม.ค. ประธานให้ใช้วันที่ 25 ม.ค. เป็นวันกองทัพไทยตามเดิม จนกว่าทางรัฐบาล จะมีหนังสือแจ้งว่าวันใด เป็นวันกระทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่แน่นอน บก.ทหารสูงสุด จึงจะดำเนินการต่อไป
    ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 กำหนดให้วันที่ 18 มกราคมของทุกปี เป็นวันยุทธหัตถีและวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดวันกองทัพไทยสอดคล้องกับเหตุผลที่ยึดถืออยู่เดิม
             คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม

    [แก้ไข] หลักฐานของการเริ่มให้มีการจัดตั้งกองทัพไทย

    ภาพ:Nare_3.jpg

             ปรากฏหลักฐานที่ค้นพบจาก หลักศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมไทย ตั้งราชอาณาจักร และถือว่าชายไทยทุกคนต้องเป็นทหาร มีหน้าที่ป้องกันประเทศ โดยแบ่งเป็นพลเดินเท้า หน่วยเคลื่อนที่เร็ว ได้แก่ ทหารม้า และหน่วยกำลังรบโจมตี เพื่อหวังชนะเด็ดขาด ได้แก่ทหารช้าง ต่อมาในสมัย กรุงศรีอยุธยา ได้มีการแบ่งกิจการทหาร และพลเรือนแยกออกจากกัน มีการกำหนดให้ชายไทย ทุกคน ต้องเขารับราชการทหาร และแบ่งออกเป็น 4 เหล่า เรียกว่าจตุรงคเสนา ได้แก เดินเท้า ม้า รถ และช้าง ต่อมาในสมัยปัจจุบัน กองทัพไทย ได้มีการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการจัด การฝึก การศึกษา การยุทธ และด้านอื่นๆอีกมาก เพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศ มีการจัดตั้ง กองบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อเป็น หน่วย บังคับบัญชาของ 3 เหล่าทัพ อันได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ

    [แก้ไข] ภารกิจและหน้าที่ของกองทัพไทย

    ภาพ:Nare_4.jpg

             ภารกิจที่สำคัญของกองทัพไทย คือ การป้องกันราชอาณาจักรจากการรุกรานจากภายนอกประเทศ ที่มีการวางแผน และปรับปรุงกันเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงด้าน การพัฒนากำลังพล การพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ การรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยภายในประเทศ และการพัฒนาประเทศ และการดำเนินการ สนองนโยบายของรัฐบาล การปฏิบัติงานตามแนวทางพระราชดำริ

             การกำหนดให้มีวันกองทัพไทยก็เพื่อ ดำรงความุ่งหมายที่จะรักษาไว้ซึ่งความหมาย อันสำคัญยิ่ง ให้ทหาร ทั้งสามเหล่าทัพ ระลึกถึงด้วยความภาคภูมิใจ เกิดความรัก ความสามัคคี หวงแหน ชาติ บ้านเมือง พร้อมที่จะเสียสละชีวิต เพื่อปกป้องรักษา ชาติ ศาสนา ผืนแผ่นดินไทย และพิทักษ์ ราชบัลลังก์ และเพื่อให้ ประชาชนทุกคนได้ระลึกถึง คุณงามความดี ของบรรพชนไทยในอดีต ที่ท่านผู้กล้าหาญเหล่านั้น ได้พลีชีพ เข้าปกป้อง ชาติไทย และประชาชนคนไทยทั้งชาติ ให้ยังความเป็น เอกราช มาได้ตราบเท่าปัจจุบันนี้

    [แก้ไข] วัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันกองทัพไทย

             สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันกองทัพไทยเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงวีรกรรมของ วีรกษัตริย์ไทยรวมทั้งบรรพบุรุษไทยผู้กล้าหาญทั้งหลาย ที่ได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษา ผืนแผ่นดินไทยให้ดำรงความเป็นชาติที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

    [แก้ไข] กิจกรรมของวันกองทัพไทย

    • จัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อให้ความรู้ความมเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และความสำคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    • จัดนิทรรศการพระราชประวัติและผลงาน
    • ทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล - ประดับธงชาติสถานที่ราชการ และอาคารบ้านนเรือน
    • วางพวงมาลา
    • การแสดงเทิดพระเกียรติ



    วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

    วันครู



    วันครู
    ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา ผู้ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
    วันครู
    ประวัติ ความเป็นมาวันครู
    วันครูของประเทศไทย
    วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
    ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
    ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
    "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
    จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
    การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
    การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
    กิจกรรมทางศาสนา
    พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
    กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
    นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการจรรยา


    วันครู

    ประเทศที่มี วันครู
    อินเดีย 5 กันยายน
    มาเลเซีย 16 พฤษภาคม
    ตุรกี 24 พฤศจิกายน

    การจัดงานวันครูการจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
    การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
    1. กิจกรรมทางศาสนา
    2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
    3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
    วันครู
    ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
    รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์
    วันครู
    บทสวดเคารพครูอาจารย์ วันไหว้ครู
    (สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
    ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
    ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์
    ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
    ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
    แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
    ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
    ด้วยใจนิยมบูชา
    ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
    ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
    ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
    อยู่ในศีลธรรมอันดี
    ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
    แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ

    วันครู
    คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
    ข้าขอประนมกระพุ่ม
    อภิวาทนาการ
    กราบคุณอดุลคุรุประทาน
    หิตเทิดทวีสรร
    สิ่งสมอุดมคติประพฤติ
    นรยึดประครองธรรม์
    ครูชี้วิถีทุษอนันต์
    อนุสาสน์ประภาษสอน
    ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน
    นะตระการสถาพร
    ท่านแจ้งแสดงนิติบวร
    ดนุยลยุบลสาร
    โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร
    ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
    ไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญ
    ลุฉลาดประสาทสรรพ์
    บาปบุญก็สุนทรแถลง
    ธุระแจงประจักษ์ครัน
    เพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล
    มนเทิดผดุงธรรม
    ปวงข้าประดานิกรศิษ
    (ษ) ยะคิดระลึกคำ
    ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ
    อนุสรณ์เผดียงคุณ
    โปรดอวยพรสุพิธพรอเนก
    อดิเรกเพราะแรงบุญ
    ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน-
    ทรศิษย์เสมอเทอญฯ

    วันครู
    คำปฏิญาณตนของครู

    ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
    ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
    ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

    วันเด็กแห่งชาติ

     

    วันเด็กแห่งชาติ งานวันเด็ก ปี 2555 


    สถานที่จัดงานวันเด็ก
    วันเด็ก ปี 2555 ณ มิวเซียมสยาม
    วันเด็กที่จะถึงนี้ “Museum Siam” ชวนน้อง ๆ เพื่อน ๆ มาร่วมสนุก

    ประวัติวันเด็กแห่งชาติ

    งาน วันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
    รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    งานวันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้


    รวมคำขวัญวันเด็ก

    ปีนายกรัฐมนตรีคำขวัญ
    พ.ศ. 2499จอมพล ป. พิบูลสงครามจงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
    พ.ศ. 2502จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
    พ.ศ. 2503จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
    พ.ศ. 2504จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
    พ.ศ. 2505จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
    พ.ศ. 2506จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
    พ.ศ. 2507จอมพล ถนอม กิตติขจรไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
    พ.ศ. 2508จอมพล ถนอม กิตติขจรเด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
    พ.ศ. 2509จอมพล ถนอม กิตติขจรเด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
    พ.ศ. 2510จอมพล ถนอม กิตติขจรอนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
    พ.ศ. 2511จอมพล ถนอม กิตติขจรความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
    พ.ศ. 2512จอมพล ถนอม กิตติขจรรู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
    พ.ศ. 2513จอมพล ถนอม กิตติขจรเด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
    พ.ศ. 2514จอมพล ถนอม กิตติขจรยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
    พ.ศ. 2515จอมพล ถนอม กิตติขจรเยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
    พ.ศ. 2516จอมพล ถนอม กิตติขจรเด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
    พ.ศ. 2517นายสัญญา ธรรมศักดิ์สามัคคีคือพลัง
    พ.ศ. 2518นายสัญญา ธรรมศักดิ์เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
    พ.ศ. 2519หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชเด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
    พ.ศ. 2520นายธานินทร์ กรัยวิเชียรรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
    พ.ศ. 2521พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
    พ.ศ. 2522พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
    พ.ศ. 2523พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
    พ.ศ. 2524พลเอก เปรม ติณสูลานนท์เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
    พ.ศ. 2525พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
    พ.ศ. 2526พลเอก เปรม ติณสูลานนท์รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
    พ.ศ. 2527พลเอก เปรม ติณสูลานนท์รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
    พ.ศ. 2528พลเอก เปรม ติณสูลานนท์สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
    พ.ศ. 2529พลเอก เปรม ติณสูลานนท์นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2530พลเอก เปรม ติณสูลานนท์นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2531พลเอก เปรม ติณสูลานนท์นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2532พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2533พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
    พ.ศ. 2534พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณรู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
    พ.ศ. 2535นายอานันท์ ปันยารชุนสามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
    พ.ศ. 2536นายชวน หลีกภัยยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    พ.ศ. 2537นายชวน หลีกภัยยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    พ.ศ. 2538นายชวน หลีกภัยสืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
    พ.ศ. 2539นายบรรหาร ศิลปอาชามุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
    พ.ศ. 2540พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธรู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
    พ.ศ. 2541นายชวน หลีกภัยขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
    พ.ศ. 2542นายชวน หลีกภัยขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
    พ.ศ. 2543นายชวน หลีกภัยมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    พ.ศ. 2544นายชวน หลีกภัยมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
    พ.ศ. 2545พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตรเรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
    พ.ศ. 2546พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตรเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
    พ.ศ. 2547พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตรรักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
    พ.ศ. 2548พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตรเด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
    พ.ศ. 2549พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตรอยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
    พ.ศ. 2550พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
    พ.ศ. 2551พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
    พ.ศ. 2552นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
    พ.ศ. 2553นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
    พ.ศ. 2554นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
    พ.ศ. 2555น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี


    สถานที่จัดงานวันเด็ก 2555

    รวมสถานที่จัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555
    14 .. 2012
    children's day

           กองทัพอากาศ
             จัดงานวันเด็กในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม นี้ โดยนอกจากเด็ก ๆ จะได้พบกับเครื่องบินแบบต่าง ๆ ของกองทัพอากาศที่มีประจำการแล้ว ปีนี้จะเป็นปีแรกที่จะได้ยลโฉม เครื่องบินขับไล่แบบ GRIPEN 39 C/D และการเปิดตัวหมู่บินผาดแผลงบูลฟีนิกซ์ ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในปี 2555นี้ ครบรอบ 100 ปี การบินบุพการทหารอากาศ
           สนามเสือป่า 
             กระทรวงศึกษาธิการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555 วันที่ 14มกราคม โดยกิจกรรมไฮไลต์ของปีนี้ คือ การจัดบอลลูนลอยฟ้า การฉายภาพยนตร์ 4 มิติ กิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัลเกมผจญภัยและอื่นๆอีกมากมาย
           สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
             สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว เตรียมจัด งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555 ที่สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) และร่วมกับพื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน ภายในงานจะมีเวทีหลัก มีกิจกรรมฐานต่าง ๆ เช่น ปาเป้า เพนท์ตุ๊กตา งานจักสาน วาดภาพ งานปั้น เกมต่าง ๆ 20 กิจกรรม และกิจกรรมอื่นอีกมากมาย ของรางวัลเพียบจัดเต็ม
           ตลาดนัดจตุจักร 
             กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (ตลาดนัดจตุจักร) ร่วมกับผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร กำหนดจัดงาน วันเด็กแห่งชาติ ขึ้นในวันที่ 14 มกราคม พ..2555 ระหว่าง เวลา 09.00. – 16.00. ณ บริเวณเต็นท์หน้ากองอำนวยการตลาดนัดจตุจักรโดยมีการจัดกิจกรรมการประกวดวาดภาพการประกวดหนูน้อยขวัญใจตลาดนัดจตุจักรแข่งขันเล่นเกมส์ชิงรางวัลพร้อมทั้งบริการอาหารเครื่องดื่มและรับของที่ระลึกฟรีตลอดงาน


    พิพิธพาเพลิน ตอนพิเศษ”เทศกาลวันเด็ก ปี2555″
    ณ มิวเซียมสยาม
    วันเด็กที่จะถึงนี้ “Museum Siam” ชวนน้อง ๆ เพื่อน ๆ มาร่วมสนุก เสริมความรู้ แต้มสีสันให้จินตนาการ กับกิจกรรมพิพิธพาเพลิน ตอนพิเศษ “เทศกาลวันเด็ก ปี 2555” พบกับกิจกรรมการเรียนรู้มากมาย และพิเศษสุด!! มิวเซียมสยาม เปิดให้ทุกคนเข้าชมฟรี
    พบกัน วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2555 ที่มิวเซียมสยาม เวลา 10.00 – 18.00 น. สอบถาม: โทร. 02 225 2777 ต่อ 414 หรือ www.facebook.com/museumsiamfan
    กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ 2555

    วันกาชาติไทย

    สภากาชาดไทย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    สัญลักษณ์ของสภากาชาด
    สภากาชาดไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" ริเริ่มก่อตั้งโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ซึ่งมีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นสภานายิกาพระองค์แรก

    เนื้อหา

     [ซ่อน

    [แก้] ประวัติ

    • พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลให้ทหารบาดเจ็บล้มตายมาก แต่ไม่มีองค์การกุศลหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลและบรรเทาทุกข์ ดังนั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ จึงได้ชักชวนสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดีตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง "สภาอุณาโลมแดง" ขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 ซึ่งถือเป็น "วันสถาปนาสภากาชาดไทย" นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น"สภาชนนี" สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงเป็น"สภานายิกา" และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณีสภาอุณาโลมแดง [1]

    [แก้] สภาอุณาโลมแดง

    [แก้] ทานมยูปถัมภก์

    [แก้] ผู้บำรุงการอย่างสูงสุด

    [แก้] ผู้บำรุงการ

    [แก้] สภาชนนี

    [แก้] กรรมการิณี

    [แก้] สภานายิกา

    [แก้] อุปนายิกา

    [แก้] เลขานุการิณี

    • ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์

    [แก้] สภากาชาดสยาม-สภากาชาดไทย

    [แก้] สภานายิกา

    [แก้] องค์บรมราชูปถัมภิกา

    [แก้] อุปนายก-อุปนายิกา